ศูนย์แรงงานอำเภอมายอ,
ที่ว่าการอำเภอมายอ ม.1 ต.มายอ อ.มายอ ต.ปัตตานี

เขียนโดย admin
หมวด:

ประวัติของอำเภอมายอ

        เมื่อปีพ.ศ. 2443 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรับปรุงบริเวณ 7 หัวเมือง ของมณฑลปัตตานี โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ปรากฏชื่ออำเภอมายอขึ้นในสมัยนั้น เรียกว่า อำเภอลาเกาะโดยเรียกชื่อตามคลองน้ำที่อยู่ใกล้ๆกับที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลเกาะจัน คำว่า “ลาเกาะ”เป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า แลเกาะ เป็นภาษามาลายูท้องถิ่นแปลว่า “คด”หมายถึง ลำคลองที่มีลักษณะคดเคี้ยวไปมา

         ในปี พ.ศ.2444 ทางราชการพิจารณาเห็นว่าบริเวณสถานที่ตั้งไม่เหมาะสม จึงย้ายอาคารที่ว่าการมาสร้างใหม่เป็นอาคารไม้สองชั้น บริเวณเนินเขาในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลมายอ และเปลี่ยนชื่อเรียกจาก “อำเภอลาเกาะ”มาเป็น “อำเภอมายอ”จวบจนถึงปัจจุบัน

         คำว่า “ มายอ ” มาจากภาษามาลายู หมายถึง “ ต้นมะตูม ”ภาษามาลายูกลางอ่านว่า “มายา”ซึ่งสอดคล้องกับชื่อเมืองหมันยาในบทละครเรื่องอิเหนา หมายถึง “ต้นมะตูม”นอกจากนี้ยังสันนิษฐานว่า มายอ เป็นคำมาลายูอาจกลายเสียงจากคำเดิมในภาษาไทย คือ ชื่อหมู่บ้านในอดีตที่เป็นชุมชนใหญ่ เรียกว่า “เมืองยอน”

         ปี พ.ศ.2548 อำเภอมายอได้รับงบประมาณก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ โดยได้ใช้สถานที่บนเนินเขาด้านหลังอาคารที่ว่าการอำเภอหลังเดิม โดยใช้แบบแปลนอาคารมาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง หลังจากการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่เสร็จแล้ว นายวิรัช ประเศรษโฐนายอำเภอมายอคนที่ 39 จึงได้ย้ายสถานที่ทำงานมาเป็นอาคารที่ว่าการอำเภอในปัจจุบันและได้ทำการรื้ออาคารที่ว่าการอำเภอหลังเดิม ทำให้มีพื้นที่โล่งกว้างเพื่อที่จะได้ดำเนินการจัดสร้างสวนสาธารณะ ลานกิจกรรม ลานกีฬา สำหรับประชาชนในพื้นที่ต่อไป อาคารที่ว่าการอำเภอมายอในปัจจุบันทำพิธีเปิดการใช้สถานที่อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550 โดย นายชาญชัย สุนทรมัฏร์ อธิบดีกรมการปกครอง มาเป็นประธานในพิธี

เบอร์ติดต่อ : 0-7349-7108 0-7349-7015  โทรสาร : 0-7349-7015

คำขวัญ 

 บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์      แหล่งผลิตบาติกสวย

กล้วยฉาบรสดี       มากมีผลไม้   ชุมชนน่าอยู่

 

 

เขียนโดย Avatif
หมวด:

18 เมษายน 2561 บัณฑิตแรงงานอำเภอมายอ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยเชิงรุกสู่สาธารณะ โดยสำนักงานคภป. จ.ปัตตานี ณ โรงแรมปาร์ควิว รีสอท จ.ปัตตานี

 

เขียนโดย Avatif
หมวด:

     กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ จังหวัดปัตตานี ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ ปี 2561 "12 กิจกรรม 12 อำเภอ" ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๆ ละ 16 คน รวม 192 คน แบ่งเป็น ผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ 63 คน ผู้สูงอายุ 18 คน ผู้พิการ 2 คน ผู้มีรายได้น้อย 5 คน และ ผู้ต้องการฝึกอาชีพ 104 คน ดำเนินการระหว่างวันที่ 22 มี.ค. - 5 เม.ย. 61 : ขอขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนกิจกรรมของกระทรวงแรงงาน

>