ฮิต: 54901

 

 

 

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงาน

ในจังหวัดชายแดนภาคใต้

(ปัตตานี  นราธิวาส  ยะลา  และ 4 อำเภอของสงขลา)

ความเป็นมาของโครงการฯ
           คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงแรงงานดำเนินโครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัครในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา มีการจ้างบัณฑิตอาสาจำนวน 294 คน และในปี 2556 กระทรวงแรงงานเห็นชอบให้ยกระดับเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการขยายพื้นที่ในการให้บริการด้านแรงงานโดยการจัดตั้งศูนย์แรงงานอำเภอ ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 37 อำเภอ เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้ขยายการจ้างบัณฑิตแรงงานจากเดิม 294 คน เพิ่มเป็น 380 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กระทรวงแรงงานรวมถึงภารกิจของจังหวัด และ ศอ.บต. ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ให้เกิดสันติสุขในพื้นที่

 

บทบาทหน้าที่ของบัณฑิตแรงงานจังหวัดปัตตานี
เป้าหมายหลัก : สนับสนุนส่งเสริม/ให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีให้มีอาชีพ เพิ่มรายได้ มีความมั่นคงในการทำงานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยปฏิบัติงานตามภารกิจหลักใน 4 ด้าน ประกอบด้วย
ด้านข้อมูล : บัณฑิตแรงงานเป็นผู้นำข้อมูลด้านแรงงาน รวมทั้งข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ  ไปสู่ประชาชนในพื้นที่ และเป็นผู้นำข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนตลอดจนข้อมูลต่างๆภายในพื้นที่กลับมารายงานนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขและให้ความช่วยเหลือ ในลักษณะข้อมูลที่เป็นแบบ Two Way
ด้านแรงงาน มีเป้าประสงค์มุ่งเน้นการให้บริการด้านแรงงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ประชาชนได้มีอาชีพ เพิ่มรายได้ มีสวัสดิการและความมั่นคงในการทำงาน นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ด้านความมั่นคง เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจเชิงบวก ลดช่องว่าง สร้างความเข้าใจ” ระหว่างภาครัฐกับประชาชน ช่วยเหลือสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจด้านความมั่นคง  เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดปัตตานีให้กลับคืนสู่สันติสุข เช่น เป็นตัวแทนกระทรวงแรงงานในระดับตำบล/อำเภอ ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ประสานและดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของภาครัฐ
 
ด้านความยั่งยืนเป็นการติดตาม/ประเมินผลการดำเนินงานที่ให้บริการแก่ประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหว/การเปลี่ยนแปลงและการนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ที่ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
 
 
ลักษณะการปฏิบัติงานในพื้นที่แบ่งการดำเนินงาน 4 ระดับ
          1. บัณฑิตแรงงานเป็นคนในพื้นที่ สามารถนำข้อมูลต่างๆสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ และเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ทุกด้านที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านแรงงานมาวิเคราะห์ประมวลผลเป็นสถานการณ์แรงงานในพื้นที่ตำบล/อำเภอ นำมาใช้ในการว่าแผนพัฒนากำลังแรงงานและการการดำเนินงานด้านแรงงานให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน อีกทั้งเป็นการป้องกันปัญหาด้านแรงงานที่อาจเกิดในพื้นที่ได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
          2. บัณฑิตแรงงานเป็นผู้ประสานนำบริการในทุกภารกิจสู่พื้นที่ชุมชน เป็นส่วนสำคัญ
ที่ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของภาครัฐ ให้บริการประชาชนในพื้นที่ เช่น จัดตั้งกลุ่มอาชีพ    แนะแนวอาชีพ ให้คำแนะนำสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนควรได้รับ ให้ความรู้เกี่ยวกับการ
ไปทำงานต่างประเทศ จัดกิจกรรมร่วมอำเภอยิ้ม/จังหวัดเคลื่อนที่ ส่งเสริมสนับสนุนงานแรงงานนอกระบบ ประสานการหางานทำและการพัฒนาฝีมือ เป็นต้น
          3.  บัณฑิตแรงงานเป็นผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตามความต้องการของประชาชน ซึ่งเกิดจากการทำเวทีประชาคม หรือการรวมกลุ่มผู้ประสบปัญหา และนำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อให้ความช่วยเหลือ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ  การรวมกลุ่มเป้าหมายจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ หรือรวมกลุ่มฝึกอาชีพโดยติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
         4. บัณฑิตแรงงานปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงาน มีการติดตามผล และรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบการดำเนินงาน รวมถึงการรายงานสถานการณ์หรือเหตุการณ์ด้านแรงงาน เพื่อหาแนวทางป้องกันแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์ สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง

 

ความเป็นมาของโครงการฯ
           คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงแรงงานดำเนินโครงการจ้างบัณฑิตอาสาสมัครในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา มีการจ้างบัณฑิตอาสาจำนวน 294 คน และในปี 2556 กระทรวงแรงงานเห็นชอบให้ยกระดับเป็นโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านแรงงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีการขยายพื้นที่ในการให้บริการด้านแรงงานโดยการจัดตั้งศูนย์แรงงานอำเภอ ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 37 อำเภอ เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาล เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้ขยายการจ้างบัณฑิตแรงงานจากเดิม 294 คน เพิ่มเป็น 380 คน เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจตามนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล กระทรวงแรงงานรวมถึงภารกิจของจังหวัด และ ศอ.บต. ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ให้เกิดสันติสุขในพื้นที่
 
 
 บทบาทหน้าที่ของบัณฑิตแรงงานจังหวัดปัตตานี
เป้าหมายหลัก : สนับสนุนส่งเสริม/ให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานีให้มีอาชีพ เพิ่มรายได้ มีความมั่นคงในการทำงานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยปฏิบัติงานตามภารกิจหลักใน 4 ด้าน ประกอบด้วย
ด้านข้อมูล : บัณฑิตแรงงานเป็นผู้นำข้อมูลด้านแรงงาน รวมทั้งข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ  ไปสู่ประชาชนในพื้นที่ และเป็นผู้นำข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนตลอดจนข้อมูลต่างๆภายในพื้นที่กลับมารายงานนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางแก้ไขและให้ความช่วยเหลือ ในลักษณะข้อมูลที่เป็นแบบ Two Way
ด้านแรงงาน : มีเป้าประสงค์มุ่งเน้นการให้บริการด้านแรงงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน เพื่อให้ประชาชนได้มีอาชีพ เพิ่มรายได้ มีสวัสดิการและความมั่นคงในการทำงาน นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ด้านความมั่นคง : เป็นสื่อกลางในการสร้างความเข้าใจเชิงบวก ลดช่องว่าง สร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับประชาชน ช่วยเหลือสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจด้านความมั่นคง  เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดปัตตานีให้กลับคืนสู่สันติสุข เช่น เป็นตัวแทนกระทรวงแรงงานในระดับตำบล/อำเภอ ร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ เป็นผู้ประสานและดำเนินการตามแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ สร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของภาครัฐ
ด้านความยั่งยืน: เป็นการติดตาม/ประเมินผลการดำเนินงานที่ให้บริการแก่ประชาชน ติดตามความเคลื่อนไหว/การเปลี่ยนแปลงและการนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ที่ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 
 
ลักษณะการปฏิบัติงานในพื้นที่แบ่งการดำเนินงาน 4 ระดับ
          1. บัณฑิตแรงงานเป็นคนในพื้นที่ สามารถนำข้อมูลต่างๆสู่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้ และเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ทุกด้านที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านแรงงานมาวิเคราะห์ประมวลผลเป็นสถานการณ์แรงงานในพื้นที่ตำบล/อำเภอ นำมาใช้ในการว่าแผนพัฒนากำลังแรงงานและการการดำเนินงานด้านแรงงานให้เกิดประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน อีกทั้งเป็นการป้องกันปัญหาด้านแรงงานที่อาจเกิดในพื้นที่ได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
          2. บัณฑิตแรงงานเป็นผู้ประสานนำบริการในทุกภารกิจสู่พื้นที่ชุมชน เป็นส่วนสำคัญ
ที่ให้ประชาชนเข้าถึงการบริการของภาครัฐ ให้บริการประชาชนในพื้นที่ เช่น จัดตั้งกลุ่มอาชีพ    แนะแนวอาชีพ ให้คำแนะนำสิทธิประโยชน์ที่ประชาชนควรได้รับ ให้ความรู้เกี่ยวกับการ
ไปทำงานต่างประเทศ จัดกิจกรรมร่วมอำเภอยิ้ม/จังหวัดเคลื่อนที่ ส่งเสริมสนับสนุนงานแรงงานนอกระบบ ประสานการหางานทำและการพัฒนาฝีมือ เป็นต้น
          3.  บัณฑิตแรงงานเป็นผู้ให้บริการแบบเบ็ดเสร็จตามความต้องการของประชาชน ซึ่งเกิดจากการทำเวทีประชาคม หรือการรวมกลุ่มผู้ประสบปัญหา และนำปัญหาที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อให้ความช่วยเหลือ เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ  การรวมกลุ่มเป้าหมายจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ หรือรวมกลุ่มฝึกอาชีพโดยติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
         4. บัณฑิตแรงงานปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงาน มีการติดตามผล และรายงานผลการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบการดำเนินงาน รวมถึงการรายงานสถานการณ์หรือเหตุการณ์ด้านแรงงาน เพื่อหาแนวทางป้องกันแก้ไขได้ทันต่อเหตุการณ์ สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง